If the tenant refuses to pay the condo rent. What can we do?

 

          ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ โรคโควิด-19 ก็ยังถือเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกสายอาชีพ มีหลายคนที่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบาก สิ่งที่เคยคาดหวังไว้ก็อาจจะหยุดชะงักทำให้ไปต่อไม่ได้ และหากนึกถึงวงการ “ปล่อยเช่าห้องชุด” เชื่อว่าปัญหาหนึ่งที่ใครหลายท่านเคยได้ยินกันอยู่เสมอ คงเป็นเรื่องของ “การผิดนัดการจ่ายค่าเช่าคอนโด”  ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายล่าช้า จ่ายไม่ครบ ค้างค่าเช่า หรือสุดท้ายคือไม่จ่ายเลย แถมผู้เช่าบางรายก็ไม่ได้หนีและยังคงอยู่ในห้องเราตามปกติ หากเป็นแบบนี้แล้วเราชาว “ผู้ให้เช่า” จะทำอย่างไร?

 

 

4 ขั้นตอนที่ผู้ให้เช่าต้องทำ เมื่อเจอผู้เช่าผิดนัดการจ่ายค่าเช่าคอนโด


          ขั้นตอนแรก ที่อยากจะแนะนำ คือ ต้องกลับไปดูที่สัญญาเช่าคอนโดระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า ว่าได้มีการตกลงหรือระบุเรื่องการจ่ายค่าเช่าล่าช้าไว้หรือไม่ หากมีแต่ระบุไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย อันนี้ก็ต้องว่ากันไปตามสัญญา ถ้าผู้เช่าผิดนัดไม่จ่ายค่าเช่าคอนโดหรือจ่ายล่าช้า อย่างแรกก็คงเป็นการทวงแบบปากเปล่าไปก่อนครับ อาจจะโทรไปสอบถามหรือส่งข้อความผ่าน Line ไปเตือนก็แล้วแต่วิธีการ แต่หากผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้ว ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ให้เริ่มทำใจไว้ได้เลยครับว่างานเข้าแน่นอน


          ขั้นตอนที่สอง เราต้องเพิ่มความเป็นทางการเข้าไป โดยการทำ “หนังสือติดตามค่าเช่าคอนโด” ส่งไปให้กับผู้เช่า ในหนังสือควรจะต้องระบุวันที่จะครบกำหนดชำระให้ชัดเจน เช่น ภายใน 3 วัน, 5 วัน, หรือ 7 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ และต้องระบุด้วยว่า หากเกินกำหนดแล้วยังไม่ชำระ ผู้ให้เช่าจะทำอย่างไร แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดในสัญญาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรกด้วยครับ 


          ขั้นตอนที่สาม หากส่ง “หนังสือติดตามค่าเช่าคอนโด” ครั้งแรกไปแล้วผู้เช่ายังนิ่งเฉย เราควรจะทำอย่างไร? ผู้ให้เช่าบางรายอาจจะใจดีเห็นว่าเป็นเรื่องที่รอมชอมกันได้ น่าจะให้โอกาสผู้เช่าอีกสักครั้งหนึ่ง ก็อาจจะทำ “หนังสือติดตามค่าเช่าคอนโดครั้งสุดท้าย” ส่งไปให้กับผู้เช่าอีกครั้งก็ได้เช่นกัน 

 

          และขั้นตอนที่สี่ หากหมดความอดทนแล้ว อยากจะไปถึงขั้นเด็ดขาดก็อาจจะเปลี่ยนเป็นการทำ “หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าคอนโด” ไปให้ผู้เช่า แต่ทั้งนี้ผู้ให้เช่าต้องยึดถือและปฏิบัติตามสัญญาเช่าคอนโดที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก 

 

 

หากผู้เช่ายังคงเพิกเฉย ไม่ติดต่อกลับ และยังพักอาศัยอยู่ที่ห้องเหมือนเดิม ผู้ให้เช่าจะทำอย่างไร? 


          ต้องขอบอกว่าถ้าเป็นไปตามกฎหมายผู้ให้เช่าจะต้องใช้สิทธิ์ทางศาลครับ ประมาณว่าฟ้องร้องขับไล่ หรือเรียกค่าเสียหายก็ว่ากันไป แต่จะไปกระทำการอื่นใดไม่ได้ ซึ่งมีหลายคนสงสัยว่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิ์ไปเปิดประตูห้องเข้าไปยึดห้องคืนได้เลยหรือไม่ ต้องบอกว่าตามกฎหมายก็ทำไม่ได้ครับ เพราะผู้ให้เช่าอาจมีความผิดฐานบุกรุก หรือหากเข้าไปในห้องแล้วขนของผู้เช่าออกไป ก็อาจจะมีความผิดในการทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ได้เช่นกันครับ


          ดังนั้น การเข้าไปห้องของผู้เช่าทั้งๆ ที่เป็นห้องคอนโดของเราเอง ต้องระวังและศึกษาข้อกฎหมายให้ดี อย่าใช้อารมณ์ตัดสินใจ ต้องไปดูในสัญญาเช่าคอนโดแต่แรกว่าเราตกลงกันไว้อย่างไร แต่การทำแบบนี้ก็มีข้อยกเว้นเช่นกันครับ จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าคอนโดแต่แรก เช่น หากผิดสัญญา ผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิ์เข้าไปเปิดห้อง, เปลี่ยนลูกกุญแจเข้าห้อง, ย้ายของผู้เช่าออก เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เวลาทำอาจจะต้องมีพยานในการดำเนินการ เช่น จะต้องไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจในท้องที่ก่อน แล้วพอเวลาไปเปิดห้องก็ต้องมีพยานเข้าไปด้วย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่นิติบุคคลประจำโครงการ เป็นต้น

 

หากผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่าห้อง ผู้ให้เช่าสามารถยึด “เงินประกัน” ของผู้เช่าได้หรือไม่?


          ถ้าดูกันตามความหมายของคำว่า เงินประกัน ที่ระบุในสัญญาเช่าคอนโด ส่วนใหญ่จะหมายถึงเงินที่ใช้ประกันสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการพักอาศัย เช่น ไปทำให้ผนังห้องเสียหาย, พื้นเสียหาย, อุปกรณ์ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์เสียหาย ดังนั้น หากผู้ให้เช่าจะถือสิทธิ์ไปยึดเงินส่วนนี้เพื่อมาทดแทนค่าเช่าห้อง ก็ต้องมีการตกลงกันไว้ในสัญญาให้ชัดเจนว่า สามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการรับรู้ด้วยกันทั้งสองฝ่ายตั้งแต่แรก


          จากที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การทำสัญญาเช่าคอนโดตั้งแต่แรกถือเป็นสิ่งสำคัญมากครับ ต้องมีความรัดกุม มีการระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน เพราะถือได้ว่าเป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องมาเดือดร้อนทุกข์ใจกันในเวลาที่เกิดปัญหา แต่ถ้าหากผู้ให้เช่ารายใดที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์หรือไม่แน่ใจในเรื่องนี้ อาจจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ อย่าง BR Agent ให้เข้ามาช่วยเหลือได้ครับ

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเพื่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

          ที่สำคัญ ก่อนที่จะปล่อยห้องชุดในคอนโดให้ใครเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องสกรีนกลั่นกรองผู้เช่าให้ดีๆ หาข้อมูล หาประวัติของผู้เช่ามาพิจารณากันหน่อยครับว่า เขาเป็นใคร มีอาชีพอะไร และมีความสามารถในการชำระค่าเช่าให้กับเราไปจนตลอดอายุสัญญาได้หรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นเราอาจจะต้องมานั่งทนทุกข์และกลุ้มใจ แทนที่จะได้ยิ้มรับค่าเช่าครบทุกเดือนด้วยความสบายใจ

 

บทความโดย : คุณปพณ ลิ้นสุวรรณ
Head of Customer Service =
บริษัท เดอะ บางกอก เรซิเดนท์ 88 จำกัด

 

📍𝗦𝗔𝗟𝗘 𝗢𝗙𝗙 𝗨𝗣 𝗧𝗢 𝟱𝟬%
𝗕𝗥 𝗔𝗚𝗘𝗡𝗧 จัดให้ช้อป 𝙊𝙉𝙇𝙄𝙉𝙀 แบบจุกๆ
กับคอนโดทำเลดี 4 ย่านสุดฮอต

✊️ ช้าหมดอด ต้องรีบจอง! ✊️

✅ 𝐒𝐮𝐤𝐡𝐮𝐦𝐯𝐢𝐭
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3ny5Qc6

✅ 𝐒𝐚𝐭𝐡𝐨𝐫𝐧
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/34FkqWk

✅ 𝐏𝐡𝐚𝐲𝐚𝐭𝐡𝐚𝐢
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/2GDkdLi

✅ รัชดา
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3d9x17Y

📍 เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

☎️ Call 1319
LINE@: http://line.me/ti/p/%40bkkresidence
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokResidence
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokresidence/

 

You May Also Like These Articles

Please Register your contact infomation and you’ll be contacted shortly.
Consult Real Estate Experts