Потеряли машину в квартире, кто несет ответственность?

 

     ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเรามักจะเห็นปัญหาทางสังคมในหลายๆด้าน ปัญหาหนึ่งที่มีมาโดยตลอดและสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ที่ประสบพบเจอเหตุเป็นอย่างมาก คือ ปัญหาการโจรกรรมรถยนต์ ซึ่งมีรายงานจากศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ พบว่ามีสถิติรถยนต์สูญหายทั่วประเทศประมาณ 20,000 คันต่อปี (อ้างอิงจาก mgronline.com)

 

 

     สถานที่เกิดเหตุที่พบปัญหาการโจรกรรมบ่อย 

คือ บริเวณที่จอดรถประจำ เช่น หน้าบ้านพักอาศัย ริมถนน หรือบริเวณลานจอดรถของอาคารที่พักอาศัย หอพัก อพาร์ตเม้นท์  รวมไปถึงคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนที่คนร้ายมักจะอาศัยเสียงฝนอำพรางการโจรกรรมรถยนต์ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่สายตรวจไม่สามารถออกตรวจพื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ

 

     แล้วหากเราจอดรถไว้ในอาคารจอดรถของคอนโดที่เราพักอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเจ้าของห้องเอง หรือผู้ที่เช่าคอนโด หากเกิดถูกคนร้ายโจรกรรมไป ใครต้องรับผิดชอบ? เชื่อว่าทุกคนคงมุ่งไปหานิติบุคคลของคอนโดเพื่อเรียกร้องให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจรกรรม แต่เดี๋ยวก่อนครับ! อาจไม่เป็นอย่างที่เราเข้าใจกันมาโดยตลอด ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ บทบาท หน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดคอนโดกันก่อน

 

     นิติบุคคลของคอนโด มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของคอนโด ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม เช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน ทางเดินภายในอาคาร เป็นต้น โดยมีผู้จัดการและคณะกรรมการเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง ดังนั้นย่อมเห็นได้ว่านิติบุคคลของคอนโดมีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนกลางของคอนโด มิได้มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคลแต่ประการใด

 


     ในส่วนของมาตรการดูแลรถยนต์ส่วนบุคคลภายในอาคารนั้น แม้นิติบุคคลของคอนโดจะมีการตรวจสอบการเข้า-ออกของรถยนต์ที่มีการติดสติกเกอร์ การรับบัตรอนุญาตจอดรถยนต์ แต่นั่นก็เป็นเพียงมาตรการควบคุมผู้ใช้สอยอาคารจอดรถซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางในคอนโดเพื่อมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้เท่านั้น เพราะเมื่อรถยนต์เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วมนิติบุคคลของคอนโดจึงไม่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์ส่วนบุคคลแต่อย่างใด (อ้างอิงจาก คำพิพากษาฎีกาที่ 2369/2557)

 

     เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงเริ่มจะมีคำถามในใจกันบ้างแล้วว่า ถ้าเป็นแบบนี้จะให้ใครจะรับผิดชอบล่ะ? ผู้เขียนขอเฉลยว่าผู้ที่จะรับผิดชอบในเรื่องนี้ นั่นก็คือ บริษัทที่ทางคอนโดว่าจ้างให้เข้ามารักษาความปลอดภัยนั่นเอง เนื่องจากบริษัทรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินต่างๆโดยได้รับค่าจ้างเป็นเงินตอบแทน หากปล่อยปะละเลยให้เกิดการโจรกรรมรถยนต์ขึ้นในคอนโด จึงถือเป็นความประมาทเลินเล่อต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของรถยนต์นั่นเอง     

 

บทความโดย นายบูรพา  บุญริ้ว
Head of Legal Department
บริษัท เดอะ บางกอก เรซิเดนท์ 88 จำกัด

📍𝗦𝗔𝗟𝗘 𝗢𝗙𝗙 𝗨𝗣 𝗧𝗢 𝟱𝟬%
𝗕𝗥 𝗔𝗚𝗘𝗡𝗧 จัดให้ช้อป 𝙊𝙉𝙇𝙄𝙉𝙀 แบบจุกๆ
กับคอนโดทำเลดี 4 ย่านสุดฮอต

✊️ ช้าหมดอด ต้องรีบจอง! ✊️

✅ 𝐒𝐮𝐤𝐡𝐮𝐦𝐯𝐢𝐭
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3ny5Qc6

✅ 𝐒𝐚𝐭𝐡𝐨𝐫𝐧
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/34FkqWk

✅ 𝐏𝐡𝐚𝐲𝐚𝐭𝐡𝐚𝐢
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/2GDkdLi

✅ รัชดา
𝗖𝗹𝗶𝗰𝗸 > https://bit.ly/3d9x17Y

📍 เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

☎️ Call 1319
LINE@: http://line.me/ti/p/%40bkkresidence
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokResidence
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokresidence/

 

You May Also Like These Articles

Пожалуйста, зарегистрируйте свои контактные данные, и вас свяжут в ближайшее время.
Получить консультацию эксперта