Это так жарко. Проверьте свой счетчик электроэнергии и легко рассчитайте FT.

 

 

 

🌞ร้อนขนาดนี้ ตรวจมิเตอร์ไฟฟ้า และคำนวนค่า FT แบบง่ายๆ กัน

 


               อากาศร้อนขนาดนี้!! แน่นอนว่าค่าไฟเดือนต้องพุ่งสูงอย่างแน่นนอน ครั้งนี้ The bangkok residence เลยอยากแนะนำการตรวจมิเตอร์ไฟฟ้า และคำนวนค่า FT แบบง่ายๆ เบื้องต้น จะได้ทราบวิธีการประหยัดไฟ ว่าทำอย่างไรให้เซฟค่าใช้จ่ายมากที่สุดมาฝากกัน ....

 


🌅 วิธีการตรวจสอบมิเตอร์ด้วยตนเอง

 


1.นำบิลค่าไฟเดือนก่อนที่เจ้าหน้าที่จด มาเปรียบเทียบกับมิเตอร์ ว่าตรงกันไหม


2.ปลดเบรคเกอร์หรือคัทเอาท์ลง แล้วตรวจสอบว่ามิเตอร์ยังหมุนอีกหรือไม่ 


3) สับเบรคเกอร์หรือคัทเอาท์ขึ้น ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรือคอนโด (เฉพาะห้อง) ให้หมด แล้วตรวจสอบมิเตอร์ว่ายังหมุนอีกหรือไม่ ถ้ามิเตอร์ยังคงหมุนอยู่ อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน ควรให้เจ้าหน้าที่ หรือช่างไฟ ตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป

 


การคิดค่าไฟ มี 4 องค์ประกอบ 

 

1.ค่าไฟฟ้าพื้นฐาน

2.ค่า FT

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

4.ค่าบริการ

 

🌤1.ค่าไฟฟ้าฐาน

ตัวอย่าง

 

ค่าการใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะคิดจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยวิธีการคำนวณก็จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งาน ได้แก่
ทั้งนี้ ในแต่ละประเภท ก็จะแบ่งหน่วยการคิดค่าไฟฟ้าแยกย่อยตามแต่ละหน่วยที่แบ่งการคิดต้นทุนไว้
ค่าไฟฟ้า = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค่าไฟฟ้าฐาน = (จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย)+ค่าบริการ)
ค่าFt จึงเป็นกลไกกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีการปรับทุกๆ 4 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ 

 

2.ค่า Ft คืออะไร 

 


อัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft คืออะไร – Ft ย่อมาจาก Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเปลี่ยนมาจากความหมายเดิม คือ Float time หมายถึง การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำหนดราคาค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย

วิธีคำนวนค่า FT แบบง่ายๆ เบื้องต้น

 

ตัวอย่าง

 

ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) = จำนวนพลังงานไฟฟ้า (350) x ค่า Ft (หน่วยละ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย เฉพาะเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565) = 86.70 บาท  

 

 

🎪 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

นอกจากค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft แล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) รวมกับค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ด้วย

 

ตัวอย่าง

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน (1,330) + ค่า Ft (86.70) + ค่าบริการ (38.22)) x 7% = 101.84 บาท

 

4.ค่าบริการ

 

ค่าบริการอื่นๆ 

 

 

🌎  ช่วงฤดูร้อนนี้มีแนวโน้มค่า Ft ยังมีโอกาสปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง และมีผลทำให้ค่าไฟแน่นอน การคำนวนเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ฉะนั้นการประหยัดไฟตั้งแต่ต้นทางคงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แล้วการช่วยคำนวนอีกทางหนึ่งก็จะเซฟค่าไฟได้พอสมควร แต่หากสนใจคอนโดแต่งครบพร้อมอยู่ มีเอเจนมืออาชีพค่อยดูแลครบวงจร แนะนำให้เข้าชมต่อได้ที่ https://www.thebkkresidence.com/

 

 

ทั้งนี้ หากต้องการคำนวณค่าไฟ โดยละเอียด สามารถคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าได้ที่นี่


คำนวณค่าไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง http://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11

คำนวณค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค https://eservice.pea.co.th/EstimateBill/

 

 

บทความโดย : จิรฐา มั่นเหมาะ 


ขอบคุณข้อมูล : การไฟฟ้านครหลวง   

 

 

#คอนโด #คอนโดพร้อมอยู่ #คอนโดมือสอง #คอนโดใกล้รถไฟฟ้า #คอนโดต่ำกว่าทุน #คอนโดน่าลงทุน #คอนโดเก็งกำไร #คอนโดทำเลดี #คอนโดราคาดี #คอนโดราคาถูก #MRT #BTS #condo #condoresale #condoforsale #thebangkokresidence #thebkkresidence #ประหยัดไฟ #คำนวนค่าFT #คำนวนค่าไฟ #คำนวนค่าไฟด้วยตัวเอง #การไฟฟ้านครหลวง #การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค #คำนวณค่าไฟฟ้า  #ลดค่าไฟ

You May Also Like These Articles

Пожалуйста, зарегистрируйте свои контактные данные, и вас свяжут в ближайшее время.
Получить консультацию эксперта