Co- Working Space คงเป็นคำที่หลายคนเคยได้ยินและรู้จักกันมาแล้ว เป็นพื้นที่รวมตัวทำงานซึ่งเริ่มในสังคมอเมริกันมาตั้งแต่ปี 2005 และส่งต่อจนเเป็นเทรนด์ไปทั่วโลก แต่ด้วยวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปตลอด จึงทำให้เกิดเทรนด์ใหม่นั่นคือ Co-Living space
Co-Living Space คือการเช่าที่พักร่วมกันกับผู้อื่น แต่มีความสะดวกสบายและความคล่องตัวมากกว่าการเช่าที่พักแบบเดิมๆ บริษัทผู้ให้บริการมีการอำนวยความสะดวก เช่น การทำความสะอาด หรือ การบำรุงรักษา แถมยังมีความยืดหยุ่นเพราะมีระยะเวลาเช่าขั้นต่ำอยู่ระหว่าง 2 สัปดาห์ – 3 เดือน เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเช่าโรงแรมและโฮสเทลระยะยาวแล้ว Co-Living Space ให้บริการอำนวยความสะดวกเหมือนกันแต่มีตัวที่พักให้เลือกมากกว่า และถ้าเปรียบเทียบกับการเช่าที่พักอาศัยทั่วไป Co-Living Space ก็มอบความยืดหยุ่นให้ได้มากกว่าไม่ต้องทำสัญญาระยะยาวเป็นปีๆ
Co-Living Space เริ่มบูมในยุคโควิด
ช่วงโควิดเป็นช่วง Work From Home ที่หลายคนต้องทำงานจากบ้านและเมื่อถึงจุดหนึ่งบางคนเริ่มรู้สึกเบื่อและแสวหาการใช้ชีวิตแบบใหม่ๆที่ทั้งยืดหยุ่นและมีสังคมในที่อยู่อาศัยไปในเวลาเดียวกัน Co-Living Space ถึงเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและเทรนด์นี้ก็ยังคงมีมาต่อเนื่องนับจากนั้นมา โดยมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาเป็น ไลฟสไตล์ที่คนที่ไม่รู้จักกัน มาอยู่ร่วมกันผ่านพื้นที่ส่วนกลางไว้สำหรับการทำงาน ทำครัว หรือกิจกรรมอื่นๆ การอยู่อาศัยรูปแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะว่าเหมาะกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่มากขึ้น ที่ต้องการความสะดวกสบายและยืดหยุ่น และอยากได้บรรยากาศในการทำงานหรือใช้ชีวิตใหม่ๆ แต่ก็ยังต้องมีพื้นที่ส่วนตัว และไม่ต้องการอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานเกินไป
Co-living Space จึงเป็นความแปลกใหม่ของการอยู่อาศัย โดยทั่วไปผู้เช่ามักจะมีพื้นที่ส่วนตัวเพียงแค่ห้องนอน หรือห้องน้ำ และมีพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางอย่างห้องครัว ห้องนั่งเล่น พื้นที่ซักล้างและห้องน้ำส่วนร่วม และจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้ให้เป็นส่วนกลาง และบางแห่งจะมีบริการระดับโรงแรม เช่น อาหารเช้าและการทำความสะอาด จากความสะดวกสบายและความน่าสนใจนี่เองที่ทำให้กระแสการอยู่ร่วมกันแบบนี้เป็นที่น่าจับตามอง
ลักษณะของ Co-Living Space
1. ตอบโจทย์และคุ้มค่า
ปัจจุบันค่าเช่าบ้านหรือคอนโดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายๆคนจึงมองว่าเป็นการจ่ายที่ไม่คุ้มราคา ทางเลือกของการอยู่อาศัยรูปแบบนี้จึงตอบโจทย์มากกว่า เพราะไม่ได้ต้องจ่ายหรือซื้อแพง แต่ก็สะดวกสบาย และมีครบทุกฟังก์ชันการใช้งาน ได้แบบที่ต้องการ
2. สะดวกสบาย
การอยู่ Co-living Space เลิกกังวลเรื่องการตกแต่งหรือห้องนั่งเล่นด้วยตัวเอง ไม่ต้องทำความสะอาดห้องทุกวัน รวมถึงเรื่องของการซื้อของเข้าบ้านก็อาจจะแชร์ร่วมกับคนที่อยู่อาศัยร่วมกันในพื้นที่อาศัยได้
3. ได้เจอสังคมใหม่ๆ
เรามีโอกาศได้พบเจอคนใหม่ๆ มากขึ้น เพราะต้องใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน เช่น ทำอาหาร ดูหนัง พูดคุย ตลอดจนกิจกรรมประจำปีต่างๆ การอยู่อาศัยรูปแบบนี้นอกจากจะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้ไม่น่าเบื่อแล้ว ยังเปิดพื้นที่ให้มีสังคมที่หลากหลายมากขึ้นด้วยเหมือนกัน
4. เปลี่ยนได้ตามความต้องากร
มีความยืดหยุ่นและเลือกได้มากขึ้น คือไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งไปตลอดเหมือนการเช่าหรือซื้อคอนโด เพราะ สามารถเลือกและสามารถย้ายได้อย่างสะดวกสบายด้วยระยะสัญญาเช่าที่สั้นกว่า
5. เหมาะกับชาวมินิมอล
ถูกใจคนมินินมอล เพราะไม่จำเป็นต้องมีของใช้ส่วนตัวจำนวนมาก และสามารถใช้งานพื้นที่ส่วนกลางแทนได้ เมื่อเกิดการโยกย้ายก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องของเฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของอื่นๆ ในพื้นที่ส่วนกลางด้วยนั่นเอง
ตัวอย่างฟังก์ชั่นของที่อยู่อาศัยแบบ Co-living Space
Activity Space
เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่จัดเตรียมกิจกรรมต่างๆให้ผู้ที่อยู่อาศัยได้มีโอกาศมาพบเจอและทำกิจกรรมร่วมกัน
Co-Creative Space
เปิดพื้นที่ความคิดสร้างสรรค์ให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ด้วยพื้นที่ทำงาน Co-cretive Space บริเวณส่วนกลางของโครงการที่เป็นเสมือนพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือทำงานไปพร้อมๆกัน พร้อมรองรับทุกการทำงานและการพบปะ
Kid’s Room
ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เอพียังให้ความสำคัญกับสมาชิกตัวน้อยของบ้านด้วยห้อง Kid’s room เต็มไปด้วยของเล่น เพื่อส่งเสริมจินตนาการและพัฒนาการของเด็กๆ อีกทั้งยังมีสวนส่วนกลาง ที่ถูกออกแบบมาอย่างดี สามารถชวนคนทั้งบ้านมาทำกิจกรรมร่วมกันได้ในทุกๆ วัน
Lobby Space
เปิดพื้นที่ต้อนรับแขกเหมือนเป็นห้องรับแขกของเรา แต่เป็นพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ ได้ทั้งความสะดวกสบาย และตอบโจทย์ในการพบปะผู้คน
ตัวอย่างโครงการคอนเซ็ปต์ Co-Living Space
พหลฯ – ประดิพัทธ์ PHAHOLYOTHIN PRADIPAT
เดอะ ไลน์ อโศกรัชดา The Line AsokeRatchada
สุขุมวิท 101 SUKHUMVIT 101
ที่มา :
https://blog.sansiri.com/