Net Zero Dreams ของไทยเรา เป็นไปได้หรือแค่ความฝัน 

Net Zero คือคำที่ใช้ในเรื่องของ ความยั่งยืน (sustainability) มากจากคำว่า Net Zero Emissions  โดบมีนิยามง่ายๆว่า การที่ปริมาณปล่อยก๊าซ carbon dioxide ซึ่งงมาจากการใช้ของมนุษย์มีค่าเท่าๆกับปริมาณการเอาก๊าซ carbon dioxide ออกจากระบบได้ (ด้วยวิธีต่างๆ) ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด 

ในการประชุม 26th United Nations Climate Change Conference เมื่อปี 2022 ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะลดก๊าซเรื่อนกระจกให้ได้ 40% ภายในปี 2030 และเป็น Net Zero Emissions ภายในปี 2065  ซึ่งขยับเร็วขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่ปี 2090 ก็นับเป็นจุดเริ่มต้น แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการทำให้เป็นจริง โดยแนวทางที่ นายวราวุธ ศิลปาชา รมต.สิ่งแวดล้อม ในขณะนั้นวางไว้คือ การอาศัยความร่วมมือจากส่วนต่างๆรวมถึงภาคเอกชนผ่านการผลักดัน ESG หรือ Economy Social & Governance ให้มีผลในทางปฏิบัติกับบริษัทต่างๆ มาตรการต่างๆเช่น การผลักดันการใช้รถไฟฟ้า, การใช้เทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture and Storate) , การผลิตพลังงานสะอากจากของเหลือจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรม, การลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากภาคการเกษตร และการจัด zoning โดยเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวทั้งในเขตเมืองและชนบท 

เรื่องการหันมาให้ความสนใจและที่สำคัญลงมือปฏิบัติไม่ใช่แค่ความฝันหรือแค่คำพูดอีกต่อไป คุณท๊อป จิรายุส ได้แชร์ประสบการณ์การการได้เข้าร่วม World Economic Forum ที่ซึ่งเป็นเวทีของเหล่าผู้นำประเทศและบริษัทเอกชั้นนำต่างๆและเป็นผู้มีอำนาจการตัดสินใจตัวจริง และเรื่อง ESG นี้เป็นหัวข้อหลักและสำคัญหัวข้อหนึ่ง ซึ่งสะท้อนว่าผู้นำโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริงจังรวมถึงภาคเอกชนชั้นนำถึงขั้นที่ว่าในอนาคตอีกไม่นานใครที่ไม่ได้เอาเรื่องนี้มาปฏิบัติ ใครที่ไม่ได้สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง จะหาที่ยืนในเวทีโลกได้ยาก 

จริงๆแล้วเรื่อง sustainability เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน และจากข้อมูลจาก pwc  ไทยเรามีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากปี 2001 มาจนถึงปี 2021 โดยตอนนี้จัดอยู่ในกลุ่มค่าเฉลี่ยโลกซึ่งดีกว่ค่าเฉลี่ยของประเทในเอเชียแปซิฟิกและมุ่งสู่ระดับเดียวกับประเทศกลุ่ม G7 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทพัฒนาแล้วในอนาคต 

 

A screen shot of a computer screen

Description automatically generated 

จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคตามแนวคิด Well-Being and Sustainable Lifestyle จาก TerraBKK.com  ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้บรโภคให้ความสำคัญคือเรื่อง community and environment 

โดยหากเจาะลึกลงไปในแต่ละกลุ่มอายุว่ามีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องการ sustainability อย่างไรบ้างพบว่า 

Gen Z (18-27 ปี) จะมีพฤติกรรมใช้บริการขนส่งสาธารณะและหลีกเลี่ยงการนั่งเครื่องบิน 

Gen Y (28-41 ปี) จะมีพฤติกรรมปิดไฟและเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ได้ใช้งาน 

Gen X (42-56 ปี) จะมีพฤติกรรมรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง และรับประทานอาหารตามฤดูกาล 

Baby Boomer (>56 ปี) จะมีพฤติกรรมถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานและสนใจเทคโนโลยีสีเขียวอนุรักษ์ธรรมชาติ 

 

A chart of a diagram of a person

Description automatically generated with medium confidence 

ที่มา : TerraBKK.com   

และในแง่ของที่อยู่อาศัยฟีเจอร์ของโครงการบ้านและคอนโดที่ผู้บริโภคให้ความสนใจที่เกี่ยวกับ sustainability จะมีทั้งเรื่องของการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานสะอาด การก่อสร้างที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไปจนถึงการลดการปล่อยคาร์บอนและอื่นๆ 

A close-up of a chart

Description automatically generated 

ที่มา : TerraBKK.com   

ในส่วนของวงการอสังริมทรัพย์เองจริงๆแล้วมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกคือ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ที่จัดทำโดย U.S. Green Building Council และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และในกรุงเทพฯเองก็มีหลายโครงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ 

เป็นเรื่องที่ดีที่ภาคส่วนต่างๆมีการริเริ่มเพื่อทำ Net Zero Dreams ให้เป็นจริง ซึ่งจะเป็นไปได้หรือแค่ความฝันยังคงบอกได้ยากเพราะคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี แต่ที่แน่ๆจุดเริ่มต้นที่มีก็ขอให้เป็นความฝันที่ดี โดยเราทุกคนในฐานผู้บริโภคก็มีส่วนได้แน่ๆคือการใช้พลังผู้บริโภคในการ “เลือก” สิ่งดีๆให้โลกของเรา และนี่คือตัวอย่างโครงการที่น่าชื่นชมซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED 

 

ที่มา : https://www.sansiri.com 

98 Wireless 

LEED Certificate : NC 2009 

ปีที่ได้รับการรับรอง : 22 July 2020  

Improvements : 

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารดีขึ้นจากเดิม 16% 

2.วัสดุก่อสร้างที่ใช้เป็นวัสดุรีไซเคิล 10% 

3.วัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่ผลิต, รีไซเคิลหรือจัดหาได้ในทิ้งถิ่น 20% 

4.เศษวัสดุ และของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 75% 

5.ลดการใช้นำสำหรับพื้นที่โครการ 50% 

6.ลดการใช้น้ำในตัวอาคาร 35% 

A city skyline with many tall buildings

Description automatically generated 

ที่มา : https://yusabuy.com 

Sindhorn Residence 

LEED Certificate : NC 2009 

ปีที่ได้รับการรับรอง : 21 June 2019  

Improvements : 

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารดีขึ้นจากเดิม 34% 

2.วัสดุก่อสร้างที่ใช้เป็นวัสดุรีไซเคิล 10% 

3.วัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่ผลิต, รีไซเคิลหรือจัดหาได้ในทิ้งถิ่น 20% 

4.เศษวัสดุ และของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 75% 

5.พื้นที่ใช้งานภายในมีวิวทิวทัศน์ที่ดี 90% 

6.ลดการใช้น้ำในตัวอาคาร 40% 

A collage of a hotel

Description automatically generated 

ที่มา : https://www.facebook.com/Sindhornvillage 

The Residences at Sindhorn Kempinski 

LEED Certificate : NC 2009 

ปีที่ได้รับการรับรอง : 05 October 2021 

Improvements : 

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารดีขึ้นจากเดิม 20% 

2.วัสดุก่อสร้างที่ใช้เป็นวัสดุรีไซเคิล 20% 

3.วัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่ผลิต, รีไซเคิลหรือจัดหาได้ในทิ้งถิ่น 20% 

4.เศษวัสดุ และของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 75% 

5.พื้นที่ใช้งานภายในมีวิวทิวทัศน์ที่ดี 90% 

6.ลดการใช้น้ำในตัวอาคาร 35% 

A tall building with trees on the side

Description automatically generated 

ที่มา : https://baansindhorn.com 

Baan Sindhorn 

LEED Certificate : NC 2009 

ปีที่ได้รับการรับรอง : 21 October 2020 

Improvements : 

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารดีขึ้นจากเดิม 24% 

2.วัสดุก่อสร้างที่ใช้เป็นวัสดุรีไซเคิล 20% 

3.วัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่ผลิต, รีไซเคิลหรือจัดหาได้ในทิ้งถิ่น 20% 

4.เศษวัสดุ และของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 75% 

5.พื้นที่ใช้งานภายในได้รับแสงธรรมชาติ 75% 

6.ลดการใช้น้ำในตัวอาคาร 35% 

A tall building with trees in the background

Description automatically generated 

ที่มา : https://yusabuy.com 

Sindhorn Lumpini 

LEED Certificate : NC 2009 

ปีที่ได้รับการรับรอง : 08 October 2020 

Improvements : 

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารดีขึ้นจากเดิม 26% 

2.วัสดุก่อสร้างที่ใช้เป็นวัสดุรีไซเคิล 10% 

3.วัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่ผลิต, รีไซเคิลหรือจัดหาได้ในทิ้งถิ่น 20% 

4.เศษวัสดุ และของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 75% 

5.พื้นที่ใช้งานภายในได้รับแสงธรรมชาติ 75% 

6.พื้นที่ใช้งานภายในมีวิวทิวทัศน์ที่ดี 90% 

7.ลดการใช้น้ำในตัวอาคาร 35% 

ที่มา : https://www.homenayoo.com 

 

A building with trees and a road in the background

Description automatically generated 

Sindhorn Tonson 

LEED Certificate : NC 2009 

ปีที่ได้รับการรับรอง : 25 June 2019 

Improvements : 

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารดีขึ้นจากเดิม 24% 

2.วัสดุก่อสร้างที่ใช้เป็นวัสดุรีไซเคิล 20% 

3.วัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่ผลิต, รีไซเคิลหรือจัดหาได้ในทิ้งถิ่น 20% 

4.เศษวัสดุ และของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างในโครงการได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 75% 

5.พื้นที่ใช้งานภายในได้รับแสงธรรมชาติ 75% 

6.พื้นที่ใช้งานภายในมีวิวทิวทัศน์ที่ดี 90% 

7.ลดการใช้น้ำในตัวอาคาร 35% 

 

 

请登记您的联系方式,我们将尽快与您联系。
请咨询房地 产专业