Digital Nomads, ได้งาน ได้เงิน ได้เที่ยว

Digital Nomads, ได้งาน ได้เงิน ได้เที่ยว  

 

A group of stickers on a computer

Description automatically generated

ที่มา : Google Gemini AI-generated 

“Digital Nomad” คือวิธีการใช้ชีวิตของกลุ่มคนยุคใหม่ที่มีอิสระในการทำงานไม่ต้องไปทำงานตามออฟฟิศแบบเดิมๆ แต่เป็นทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยี   ทำให้มีอิสระที่จะทำงานไปด้วย ท่องเที่ยวไปด้วย 

Digital Nomad เป็นคนที่เกิดขึ้นครั้งแรกในในหนังสือชื่อ “Digital Nomad” ของ Tsugio Makimoto และ David Manners ,1997 โดยผู้เขียนได้คาดการณ์ถึงรูปแบบการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในยุคสมัยนั้นถือว่าแปลกไปจากการทำงานแบบปกติที่ผู้คนคุ้นเคยกัน โดยทำอาชีพธุรกิจออนไลน์ หรือทำงานกับนายจ้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ท โดยมากมักทำงานตามร้านกาแฟหรือ co-working space  พร้อมเดินทางท่องเที่ยวไปด้วยตามเมืองและประเทศต่างๆ ไม่ได้อาศัยที่ใดที่หนึ่งเป็นหลักแหล่งเสมือนเป็นช่นเร่รอ่น (nomad) จึงเป็นที่มาของคำว่า digital nomad 

United Nations Development Programme (2020) ให้ความหมายของ Digital Nomad ว่าเป็นบุคคลที่ทำงานจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศของตนเอง ทำงานทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางโดยไม่มีถิ่นพำนักถาวร ทางการศึกษาด้านการท่องเที่ยว Digital Nomad หมายถึงบุคคลที่เดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อพักผ่อนร่วมไปกับการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องประจำอยู่ในออฟฟิศแบบเดิม และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออิสรภาพจากข้อจำกัด 

ถึงแม้คำจำกัดความของคำว่า Digital Nomad จะไม่ได้มีเส้นขีดแบ่งชัดเจน หรือระบุได้ว่าเริ่มเกิดขึ้นจริงๆเมื่อไหร่ แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Digital Nomad กลายเป็น megatrend ไปทั่วโลกคือการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพราะหลังเกิดการแพร่ระบาด หลายๆบรษัทก็มีการปรับเปลี่ยนนโยบายและรูปแบบการทำงาน โดยเปิดกว้างให้อิสระในการทำงานมากขึ้น ทั้งแบบ Remote Working คือไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเลยหรือแบบ Hybrid Working คือผสมผสานการทำงานแบบ Remote กับการทำงานแบบเข้าออฟฟิสโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสานในปัจจุบัน ตัวอย่างบริษัทเหล่านี้ก็มักจะเป็นบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี่ที่การทำงานสามารททำผ่านออนไลน์ได้แบบ 100% เช่น Google, Apple, Microsoft, Meta เป้นต้น สอดคล้องกับผลการสำรวจพนักงานรุ่นใหม่กว่า 22,000 คน จาก 44 ประเทศทั่วโลกของ Deloitte ที่พบว่าปัจจุบันมีพนักงานราว 55-61% ที่ทำงานอยู่ในรูปแบบ Remote/Hybrid Work และมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกตามความต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของพนักงานในอนาคต 

 

A graph on a screen

Description automatically generated

ภาพแสดงความนิยมคำค้นหา “Digital Nomads” ตั้งแต่ปี 2005 

 

Digital Nomads (ต่อไปนี้ขอเรียกว่า DNs)  จึงมีทั้งที่ทำงานเป็น Freelance หรือทำงานแบบ Work from Anywhere โดยจำนวน  DNs ทั่วโลกในปี 2023 มีประมาณ 35,000,000 คน และใช้จ่ายต่อปีประมาณ 787,000,000,000 ล้าน USD (ประมาณ 27,545,000,000,000 ล้านบาท – 27.5 ล้านๆบาท)  จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจและน่าจับตามอง อีกทั้งแนวโน้มก็สูงขึ้นเรื่อยสอดรับกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ชอบอิสระ เป็นตัวของตัวเองนั่นเอง  

 

กลุ่มประชากร DNs เป็นผู้หญิงและผู้ชายเท่าๆกัน และกว่า 75 % จะเป็นกลุ่มคนผิวขาวหรือสืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป และหากนับเป็นสัญาติมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกาที่ 31% ตามมาด้วย โปรตุเกส 8% และ เยอรมัน 7% อายุจะอยู่ในช่วง 30 ปีทำอาชีพในสายงาน IT, Marketing, Software , ผู้ประกอบการ และนักวิเคราะห์ข้อมูล มีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 1,875 USD (ประมาณ 65,000 บาท) แต่หากนับจากรายได้จะอยู่ในระดับ  30,000 – 49,999 USD  (1,020,000-1,700,000 บาท)  มากที่สุด รองลมาคือ 40,000-49,999 USD (1,360,000-1,700,000 บาท) และจะอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเฉลี่ย 3 – 6 เดือน และลักษณะเด่นอย่างนึงของกลุ่มนี้คือไม่มีฤดูกาลท่องเที่ยวที่ชัดเจนแบบกลุ่มนักท่องเที่ยว จึงมีการเดินทางตลอดทั้งปี 

รูปแบบการทำงานของพนักานในปัจจุบัน 

ที่มา : Deloitte : 2023 Gen Z and Millenial Survey

 

A graph of a number of people

Description automatically generated with medium confidence

อ้างอิงจาก กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว ห่างประเทศไทย (ททท.) กลุ่ม DNs เองก็แบ่งย่อยได้อีกเป็น  

 

A person and person sitting in a hammock with laptops

Description automatically generated

ที่มา : Google Gemini AI-generated 

1.Perpetual Travelers  
Perpetual Travelers หรือ นักท่องเที่ยวถาวร เป็น DNs กลุ่มที่เหมือนนักท่องเที่ยวไปเรื่อยๆตามประเทศต่างๆใช้เวลาพำนักในแต่ละเมืองนานกว่า โดยเป็นกลุ่ที่คำนึงถึงเรื่องถิ่นที่อยู่ทาภาษี (Tax Resident) เป็นองค์ประกอบด้วย ดังนั้นปัจจัยกระตุ้นในการย้ายประเทศจึงมักเป็นระยะเวลาที่ไม่เกินกำหนดของการเป็น Tax Resident อย่างของไทยเองระยะเวลาของ Tax Resident อยู่ที่ 180 วัน หากอยู่นานเกินกว่านั้นรายได้ถือว่าต้องเสียภาษีตามกฏหมา 

 

2.นักท่องเที่ยวสองพาสปอร์ต ประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำและมีสินทรัพย์ที่ปลอดภัย 

ข้อกำหนดการมีสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรของแต่ละประเทศเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติมากขึ้น DNs  จึงมีโอกาสสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ณ ประเทศปลายทาง และถือพาสปอร์ตมากกว่า 1 ประเทศ  

DNs ที่มีรายได้จากการทำงานและพำนักเกินระยะเวลาที่ประเทศนั้น ๆ กำหนด จะถูกเรียกเก็บภาษีตามมูลค่าเงินรายได้ในอัตราที่รัฐกำหนด ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการเก็บภาษีคนกลุ่มนี้น้อยมาก Digital Nomad ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียภาษี และมีแนวโน้มที่จะเลือกประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ (Tax Haven) รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลการจดทะเบียนสตาร์ตอัปกับประเทศที่ให้ประโยชน์ทางภาษีแก่ชาวต่างชาติ  

นอกจากนี้ Digital Nomad ยังคำนึงถึงการมีสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (Asset Haven) โดยมองหาแหล่งลงทุน แหล่งฝากเงินหรือธนาคารในต่างประเทศที่ให้ประโยชน์ด้านกำไรส่วนต่างจากการลงทุน 

DNs ในกลุ่มนี้ ประเทศไทยเราอาจจะยังไม่ตอบโจทย์นักเพราะยังมีตัวเลือกประเทศอื่นที่ดีกว่า เช่นประเทศโปรตุเกสที่มี  Non-Habitual Resident (NHR) scheme ที่ใหสิทธิทางภาษีบุคคลมากที่สุดถึง 0% ใน 10 ปีตามเงื่อนไขที่ระบุเป็นต้น 

3.Anywhere Workers 

 

A person smiling at a computer

Description automatically generated

เป็น DNs กลุ่มที่ทำงานได้ทุกที่ (Anywhere Workers) ท้งที่เป็น freelance หรือทำงานกับบริษัทที่มีนโยบายนี้ เป็นกระแสแรงงานรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ได้เดินทางท่องเที่ยวไปด้วย ทำงานไปด้วย และไม่กลับเข้าสู่วงจรของการทำงานประจำหรือสังกัดบริษัทอีกต่อไป พวกเขามองหาลักษณะงานที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและทำงานจากที่ใดก็ได้ ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต คนกลุ่มนี้มักรับงานที่ตนเองมีทักษะในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้มีรายได้สำหรับเดินทางท่องเที่ยว จึงมักทำงานมากกว่า 1 อาชีพ 

 

4. Digital ‘Slomad’ 

กลุ่ม Digital Slomad ใช้ชีวิตไม่เร่งรีบ ยังคงทำงานออนไลน์และพำนักระยะยาว แต่มีความต้องการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในประเทศที่พำนักอยู่  เข้าร่วมกิจกรรมของท้องถิ่นเพื่อซึมชับวัฒนธรรม เรียนรู้ภาษาท้องถิ่น อาหารท้องถิ่น สร้างความทรงจำที่ดีกับชุมชนที่ได้ไปเยือน นอกจากนี้ ยังตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย จะว่าไปแล้วประเทศไทยเราก็มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้ โดยเฉพาะเรื่องของอัธยาศัยของผู้คนท้องถื่นที่เป็นเสนห์ที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากของชาวต่างชาติ ที่สำคัญยากจะเลียนแบบ 

 ถึงแม้ DNs เองจะมีหลายกลุ่มแต่สิ่งที่พวกเค้ามองหาพอจะสรุปได้ดังนี้ 

  1. สถานที่ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและเมือง 

  2. ค่าครองชีพ จุดประสงค์หนึ่งที่กลุ่ม DNs เลือกจะเดินไปทำงานในประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่ประเทศตนเองเพราะเรื่องค่าครองีพนี่ละ ส่นมาก DNs จึงเป็นคนที่มาจากประเทศที่ค่าครองชีพที่สูงกว่า แต่มพำนักในประเทศที่ค่าครองชีพต่ำกว่าแต่ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอีกแบบหนึ่ 

  3. คุณภาพอินเตอร์เน็ท แน่นนอนว่ากลุ่ม DNs ทำงานออนไลน์เรื่องความเร็วและความเสถียรของอินเทอร์เน็ทจัดได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่งไทยเราเองก็จัดเป็นประเทศที่มีความเร็วอินเตอร์เน็ทอันดับต้นของโลกเลยทีเดียวเชียว 

 

 

4.ร้านกาแฟนั่งทำงานหรือ Co-working space ชิลๆ 

DNS  + กาแฟ + พื้นที่ทำงานเป็นสมการที่สำคัญสุดๆ เพราะถือเป็นปัจจัย 5 ในการทำงานของเหล่า DNs เลย และไทยเราเองก็ไม่น้อยหน้าประเทศไหนๆในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นที่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ตหรือจังหวัดอื่นๆ การจะหาร้านกาฟิลๆซักร้านนั่งทำงานไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่หากต้องการหา Co-working space ก็อาจจะต้องจำกัดอยู่ตามเมืองใหญ่ๆหน่อยอย่างกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ แต่โดยรวมไม่ใช่ปัญหาเลย 

 

A group of people sitting at tables in a cafe

Description automatically generated

ที่มา : Google Gemini AI-generated 

5.ความปลอดภัย  แน่นอนว่าต้องเป็นปัจจัยหนึ่ง เพราะไม่ใช่ว่าทุกประเทศหรือทุกเมืองจะปลอดภัยและประเทศไทยเราก็ถือว่ามีภาพลักษณ์โดยรวมในเรื่องนี้ดีในระดับหนึ่ง 

 

6.ความยากง่ายในการดำเนินการเรื่อง Visa, Work Permit  และ Taxes 

ประเทศไทยเรามี Visa หลากหลายตัวเลือกมากๆ ทั้ง Long Term Residential Visa (LTR) ที่มีเงื่อนไขเรื่องสินทรัพย์และรายได้แต่ก็อยู่ได้ยาวๆสูงสุด 10 ปี , Thai Privilege Card ที่จำเป็นต้องมีเงินถุงเงินถัง แต่ประเภทที่น่าจะเหมาะกับ DNs จริงๆคงจะเป็น Smart Visa ที่เจาะกลุ่มคนที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้านในอุตสหากรรมที่กำหนด โดยที่อุตสาหกรรม digital เป็นหนึ่งในนั้น 

ในเรื่องของ Work Permit ของไทยเรายังถือว่ายังไม่สะดวกนักเมื่อเทียบกับบางประเทศ แต่ก็มีแนวแน้มที่ดีขึ้น เริ่มมีระบบ Digital Work Permit มาใช้แล้ว 

ในเรื่องภาษี ของไทยก็จัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่ยังไม่มีมาตรการเฉพาะเพื่อดึงดูดคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ 

 

 

A close-up of a company logo

Description automatically generated

DNs เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพมากในด้านธุรกิจและโดยเฉพาะไทยเป็นจุดหมายอันดับต้นๆอยู่แล้ว แต่หลายๆประเทศก็พยายามออกมาตรการเพื่อดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้ามาเป็นการสร้างเศรษฐกิจในระยะอีกกลุ่มหนึ่งโดยที่ไทยเองก็มีข้อได้เปรียบในหลายๆด้าน แต่หากเราสามารถยกระดับเรื่องของขั้นตอนการขอ VISA หรือมีมาตรการเฉพาะออกมาเพิ่มเติม ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญในการชับเคลื่อนเศรษฐกิจจากกลุ่ม DNs ได้เช่นกัน 

 

ที่มา : กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท. 

https://abrotherabroad.com/ 

https://nomadlist.com/ 

 

 

You May Also Like These Articles

Please Register your contact infomation and you’ll be contacted shortly.
Consult Real Estate Experts