Digital Nomads, ได้งาน ได้เงิน ได้เที่ยว
ที่มา : Google Gemini AI-generated
“Digital Nomad” คือวิธีการใช้ชีวิตของกลุ่มคนยุคใหม่ที่มีอิสระในการทำงานไม่ต้องไปทำงานตามออฟฟิศแบบเดิมๆ แต่เป็นทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยี ทำให้มีอิสระที่จะทำงานไปด้วย ท่องเที่ยวไปด้วย
Digital Nomad เป็นคนที่เกิดขึ้นครั้งแรกในในหนังสือชื่อ “Digital Nomad” ของ Tsugio Makimoto และ David Manners ,1997 โดยผู้เขียนได้คาดการณ์ถึงรูปแบบการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในยุคสมัยนั้นถือว่าแปลกไปจากการทำงานแบบปกติที่ผู้คนคุ้นเคยกัน โดยทำอาชีพธุรกิจออนไลน์ หรือทำงานกับนายจ้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ท โดยมากมักทำงานตามร้านกาแฟหรือ co-working space พร้อมเดินทางท่องเที่ยวไปด้วยตามเมืองและประเทศต่างๆ ไม่ได้อาศัยที่ใดที่หนึ่งเป็นหลักแหล่งเสมือนเป็นช่นเร่รอ่น (nomad) จึงเป็นที่มาของคำว่า digital nomad
United Nations Development Programme (2020) ให้ความหมายของ Digital Nomad ว่าเป็นบุคคลที่ทำงานจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศของตนเอง ทำงานทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางโดยไม่มีถิ่นพำนักถาวร ทางการศึกษาด้านการท่องเที่ยว Digital Nomad หมายถึงบุคคลที่เดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อพักผ่อนร่วมไปกับการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องประจำอยู่ในออฟฟิศแบบเดิม และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออิสรภาพจากข้อจำกัด
ถึงแม้คำจำกัดความของคำว่า Digital Nomad จะไม่ได้มีเส้นขีดแบ่งชัดเจน หรือระบุได้ว่าเริ่มเกิดขึ้นจริงๆเมื่อไหร่ แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Digital Nomad กลายเป็น megatrend ไปทั่วโลกคือการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพราะหลังเกิดการแพร่ระบาด หลายๆบรษัทก็มีการปรับเปลี่ยนนโยบายและรูปแบบการทำงาน โดยเปิดกว้างให้อิสระในการทำงานมากขึ้น ทั้งแบบ Remote Working คือไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเลยหรือแบบ Hybrid Working คือผสมผสานการทำงานแบบ Remote กับการทำงานแบบเข้าออฟฟิสโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสานในปัจจุบัน ตัวอย่างบริษัทเหล่านี้ก็มักจะเป็นบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยี่ที่การทำงานสามารททำผ่านออนไลน์ได้แบบ 100% เช่น Google, Apple, Microsoft, Meta เป้นต้น สอดคล้องกับผลการสำรวจพนักงานรุ่นใหม่กว่า 22,000 คน จาก 44 ประเทศทั่วโลกของ Deloitte ที่พบว่าปัจจุบันมีพนักงานราว 55-61% ที่ทำงานอยู่ในรูปแบบ Remote/Hybrid Work และมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกตามความต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของพนักงานในอนาคต
ภาพแสดงความนิยมคำค้นหา “Digital Nomads” ตั้งแต่ปี 2005
Digital Nomads (ต่อไปนี้ขอเรียกว่า DNs) จึงมีทั้งที่ทำงานเป็น Freelance หรือทำงานแบบ Work from Anywhere โดยจำนวน DNs ทั่วโลกในปี 2023 มีประมาณ 35,000,000 คน และใช้จ่ายต่อปีประมาณ 787,000,000,000 ล้าน USD (ประมาณ 27,545,000,000,000 ล้านบาท – 27.5 ล้านๆบาท) จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจและน่าจับตามอง อีกทั้งแนวโน้มก็สูงขึ้นเรื่อยสอดรับกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ชอบอิสระ เป็นตัวของตัวเองนั่นเอง
กลุ่มประชากร DNs เป็นผู้หญิงและผู้ชายเท่าๆกัน และกว่า 75 % จะเป็นกลุ่มคนผิวขาวหรือสืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป และหากนับเป็นสัญาติมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกาที่ 31% ตามมาด้วย โปรตุเกส 8% และ เยอรมัน 7% อายุจะอยู่ในช่วง 30 ปีทำอาชีพในสายงาน IT, Marketing, Software , ผู้ประกอบการ และนักวิเคราะห์ข้อมูล มีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 1,875 USD (ประมาณ 65,000 บาท) แต่หากนับจากรายได้จะอยู่ในระดับ 30,000 – 49,999 USD (1,020,000-1,700,000 บาท) มากที่สุด รองลมาคือ 40,000-49,999 USD (1,360,000-1,700,000 บาท) และจะอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเฉลี่ย 3 – 6 เดือน และลักษณะเด่นอย่างนึงของกลุ่มนี้คือไม่มีฤดูกาลท่องเที่ยวที่ชัดเจนแบบกลุ่มนักท่องเที่ยว จึงมีการเดินทางตลอดทั้งปี
รูปแบบการทำงานของพนักานในปัจจุบัน
ที่มา : Deloitte : 2023 Gen Z and Millenial Survey
อ้างอิงจาก กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว ห่างประเทศไทย (ททท.) กลุ่ม DNs เองก็แบ่งย่อยได้อีกเป็น
ที่มา : Google Gemini AI-generated
1.Perpetual Travelers
Perpetual Travelers หรือ นักท่องเที่ยวถาวร เป็น DNs กลุ่มที่เหมือนนักท่องเที่ยวไปเรื่อยๆตามประเทศต่างๆใช้เวลาพำนักในแต่ละเมืองนานกว่า โดยเป็นกลุ่ที่คำนึงถึงเรื่องถิ่นที่อยู่ทาภาษี (Tax Resident) เป็นองค์ประกอบด้วย ดังนั้นปัจจัยกระตุ้นในการย้ายประเทศจึงมักเป็นระยะเวลาที่ไม่เกินกำหนดของการเป็น Tax Resident อย่างของไทยเองระยะเวลาของ Tax Resident อยู่ที่ 180 วัน หากอยู่นานเกินกว่านั้นรายได้ถือว่าต้องเสียภาษีตามกฏหมา
2.นักท่องเที่ยวสองพาสปอร์ต ประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำและมีสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
ข้อกำหนดการมีสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรของแต่ละประเทศเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติมากขึ้น DNs จึงมีโอกาสสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ณ ประเทศปลายทาง และถือพาสปอร์ตมากกว่า 1 ประเทศ
DNs ที่มีรายได้จากการทำงานและพำนักเกินระยะเวลาที่ประเทศนั้น ๆ กำหนด จะถูกเรียกเก็บภาษีตามมูลค่าเงินรายได้ในอัตราที่รัฐกำหนด ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการเก็บภาษีคนกลุ่มนี้น้อยมาก Digital Nomad ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียภาษี และมีแนวโน้มที่จะเลือกประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ (Tax Haven) รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลการจดทะเบียนสตาร์ตอัปกับประเทศที่ให้ประโยชน์ทางภาษีแก่ชาวต่างชาติ
นอกจากนี้ Digital Nomad ยังคำนึงถึงการมีสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (Asset Haven) โดยมองหาแหล่งลงทุน แหล่งฝากเงินหรือธนาคารในต่างประเทศที่ให้ประโยชน์ด้านกำไรส่วนต่างจากการลงทุน
DNs ในกลุ่มนี้ ประเทศไทยเราอาจจะยังไม่ตอบโจทย์นักเพราะยังมีตัวเลือกประเทศอื่นที่ดีกว่า เช่นประเทศโปรตุเกสที่มี Non-Habitual Resident (NHR) scheme ที่ใหสิทธิทางภาษีบุคคลมากที่สุดถึง 0% ใน 10 ปีตามเงื่อนไขที่ระบุเป็นต้น
3.Anywhere Workers
เป็น DNs กลุ่มที่ทำงานได้ทุกที่ (Anywhere Workers) ท้งที่เป็น freelance หรือทำงานกับบริษัทที่มีนโยบายนี้ เป็นกระแสแรงงานรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ได้เดินทางท่องเที่ยวไปด้วย ทำงานไปด้วย และไม่กลับเข้าสู่วงจรของการทำงานประจำหรือสังกัดบริษัทอีกต่อไป พวกเขามองหาลักษณะงานที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและทำงานจากที่ใดก็ได้ ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต คนกลุ่มนี้มักรับงานที่ตนเองมีทักษะในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้มีรายได้สำหรับเดินทางท่องเที่ยว จึงมักทำงานมากกว่า 1 อาชีพ
4. Digital ‘Slomad’
กลุ่ม Digital Slomad ใช้ชีวิตไม่เร่งรีบ ยังคงทำงานออนไลน์และพำนักระยะยาว แต่มีความต้องการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในประเทศที่พำนักอยู่ เข้าร่วมกิจกรรมของท้องถิ่นเพื่อซึมชับวัฒนธรรม เรียนรู้ภาษาท้องถิ่น อาหารท้องถิ่น สร้างความทรงจำที่ดีกับชุมชนที่ได้ไปเยือน นอกจากนี้ ยังตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย จะว่าไปแล้วประเทศไทยเราก็มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้ โดยเฉพาะเรื่องของอัธยาศัยของผู้คนท้องถื่นที่เป็นเสนห์ที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากของชาวต่างชาติ ที่สำคัญยากจะเลียนแบบ
ถึงแม้ DNs เองจะมีหลายกลุ่มแต่สิ่งที่พวกเค้ามองหาพอจะสรุปได้ดังนี้
สถานที่ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและเมือง
ค่าครองชีพ จุดประสงค์หนึ่งที่กลุ่ม DNs เลือกจะเดินไปทำงานในประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่ประเทศตนเองเพราะเรื่องค่าครองีพนี่ละ ส่นมาก DNs จึงเป็นคนที่มาจากประเทศที่ค่าครองชีพที่สูงกว่า แต่มพำนักในประเทศที่ค่าครองชีพต่ำกว่าแต่ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอีกแบบหนึ่
คุณภาพอินเตอร์เน็ท แน่นนอนว่ากลุ่ม DNs ทำงานออนไลน์เรื่องความเร็วและความเสถียรของอินเทอร์เน็ทจัดได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่งไทยเราเองก็จัดเป็นประเทศที่มีความเร็วอินเตอร์เน็ทอันดับต้นของโลกเลยทีเดียวเชียว
4.ร้านกาแฟนั่งทำงานหรือ Co-working space ชิลๆ
DNS + กาแฟ + พื้นที่ทำงานเป็นสมการที่สำคัญสุดๆ เพราะถือเป็นปัจจัย 5 ในการทำงานของเหล่า DNs เลย และไทยเราเองก็ไม่น้อยหน้าประเทศไหนๆในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นที่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ตหรือจังหวัดอื่นๆ การจะหาร้านกาฟิลๆซักร้านนั่งทำงานไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่หากต้องการหา Co-working space ก็อาจจะต้องจำกัดอยู่ตามเมืองใหญ่ๆหน่อยอย่างกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ แต่โดยรวมไม่ใช่ปัญหาเลย
ที่มา : Google Gemini AI-generated
5.ความปลอดภัย แน่นอนว่าต้องเป็นปัจจัยหนึ่ง เพราะไม่ใช่ว่าทุกประเทศหรือทุกเมืองจะปลอดภัยและประเทศไทยเราก็ถือว่ามีภาพลักษณ์โดยรวมในเรื่องนี้ดีในระดับหนึ่ง
6.ความยากง่ายในการดำเนินการเรื่อง Visa, Work Permit และ Taxes
ประเทศไทยเรามี Visa หลากหลายตัวเลือกมากๆ ทั้ง Long Term Residential Visa (LTR) ที่มีเงื่อนไขเรื่องสินทรัพย์และรายได้แต่ก็อยู่ได้ยาวๆสูงสุด 10 ปี , Thai Privilege Card ที่จำเป็นต้องมีเงินถุงเงินถัง แต่ประเภทที่น่าจะเหมาะกับ DNs จริงๆคงจะเป็น Smart Visa ที่เจาะกลุ่มคนที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้านในอุตสหากรรมที่กำหนด โดยที่อุตสาหกรรม digital เป็นหนึ่งในนั้น
ในเรื่องของ Work Permit ของไทยเรายังถือว่ายังไม่สะดวกนักเมื่อเทียบกับบางประเทศ แต่ก็มีแนวแน้มที่ดีขึ้น เริ่มมีระบบ Digital Work Permit มาใช้แล้ว
ในเรื่องภาษี ของไทยก็จัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่ยังไม่มีมาตรการเฉพาะเพื่อดึงดูดคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ
DNs เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพมากในด้านธุรกิจและโดยเฉพาะไทยเป็นจุดหมายอันดับต้นๆอยู่แล้ว แต่หลายๆประเทศก็พยายามออกมาตรการเพื่อดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้ามาเป็นการสร้างเศรษฐกิจในระยะอีกกลุ่มหนึ่งโดยที่ไทยเองก็มีข้อได้เปรียบในหลายๆด้าน แต่หากเราสามารถยกระดับเรื่องของขั้นตอนการขอ VISA หรือมีมาตรการเฉพาะออกมาเพิ่มเติม ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญในการชับเคลื่อนเศรษฐกิจจากกลุ่ม DNs ได้เช่นกัน
ที่มา : กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท.